วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศาสนาคริสต์
ประวัติศาสนาคริสต์
     ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดศาสนาหนึ่ง มีลักษณะ เป็นศาสนาเทวนิยม  ซึ่งนับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวา หรือ พระยาเวห์  คำว่า "คริสต์" มาจากภาษากรีกว่า "คริสตอล" แปลว่า ผู้ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนา ที่เน้นการมอบความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่กัน  เพราะหลักการของศาสนาคริสต์ ถือว่า มนุษย์ทุกคน เป็นบุตรของพระเจ้า

 
  
เมืองนาซาเรธ สถานที่ ประสูติของพระเยซู
         พระเยซูประสูติ
     ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนา ที่พัฒนาหรือปฏิรูปมาจากศาสนายิว หรือ ยุดาย  ดังนั้น การศึกษาศาสนาคริสต์ จึงต้องศึกษาที่ศาสนายูดายก่อน
     ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล  ชนเผ่าหนึ่ง เป็นบรรพบุรุษ ของชาวยิว ตั้งถิ่นฐานอยู่  ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย (ปัจจุบัน อยู่ในประเทศอิรัก) มีหัวหน้าเผ่าชื่อ "อับราฮัม" (อับราฮัม ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของชาวยิว) ได้อ้างตนว่า ได้รับโองการจากพระเจ้า ให้อพยพ ชนเผ่าไปอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า คานาอัน (ประเทศอิสราเอล ในปัจจุบัน) โดยอับราฮัม กล่าวว่า พระเจ้ากำหนดและสัญญาให้ชนเผ่านี้ เป็นชนชาติ ที่ยิ่งใหญ่ต่อไป การที่พระเจ้าสัญญา จึงก่อให้เกิดพันธสัญญา ระหว่างพระเจ้ากับชนชาวยิว  ดังนั้น ในเวลาต่อมา จึงเรียกคัมภีร์ ของศาสนายูดาย และศาสนาคริสต์ว่า "พันธสัญญา"


พระเยซู รับศีลจุ่ม จากจอห์น หรือโจฮัน
 พระเยซูแสดงธรรมบนภูเขา
     ต่อมาดินแดนคานาอัน ประสบความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ชาวยิว จึงอพยพกลับ ไปอยู่ในดินแดนของประเทศอียิปต์ และกลายเป็นทาสของอียิปต์ ชาวยิว ทนความลำบากของสภาพทาสไม่ได้ จึงคิดอพยพกลับไปดินแดนคานาอัน การเดินทางครั้งนี้ พระเจ้าทรงมีโองการให้ชาวยิวคนหนึ่งชื่อ "โมเสส" เป็นหัวหน้า ระหว่างเดินทางเต็มไปด้วยความลำบาก และต้องรอนแรมกลางทะเลทรายหลายปี และชาวอียิปต์ได้ส่งทหารติดตามกวาดล้าง โดยคิดว่าชาวยิวจะก่อกบฏ เมื่อไล่ติดตามมาถึงทะเลแดง ด้วยอำนาจของพระเจ้า โมเสสได้แยกน้ำออกจากกัน ทำให้ชาวยิวหนีรอดมาได้ เหตุการณ์สำคัญนี้ ต่อมาได้กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ในงานฉลองประจำปี เรียกว่า งานฉลองปาสกา นอกจากนี้ พระเจ้าได้มอบบัญญัติ 10 ประการ ให้แก่โมเสส  เพื่อให้ชาวยิวนำไปยึดถือปฏิบัติ  บัญญัติ  10  ประการนี้ ถือเป็นหลักสำคัญของศาสนายูดาย และต่อมาถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาคริสต์ ด้วย  โมเสส ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสดาของศาสนายูดาย
 ชาวยิวได้ตั้งอาณาจักรคานาอัน ต่อมาอาณาจักรนี้ได้ตกเป็นเมืองขึ้น ของอาณาจักรบาบิโลน และเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโรมันตามลำดับ  ชาวยิว ยังคงได้รับการกดขี่ข่มเหงจากอาณาจักรโรมัน เราจะเห็นว่า ประวัติศาสตร์ ของชาวยิว เป็นประวัติศาสตร์แห่งความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส ชาวยิว จึงมีความเชื่อในคำทำนายของศาสดาว่า วันหนึ่ง พระเจ้าจะส่งคนลงมาช่วย เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ยากทั้งหมดของชาวยิว หรือช่วยไถ่บาปให้กับชาวยิว เรียกบุคคลนี้ว่า "เมสสิอาห์" (Messiah)คำว่า เมสสิอาห์ เป็นภาษายิว ตรงกับคำว่า คริสต์ (Christ) หรือ ไครสต์ ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า ผู้ได้รับเลือก ให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า  ความเชื่อดังกล่าว ทำให้ชาวยิว มีความหวังในชีวิต เมื่อพระเยซู (Jesus) ประสูติ ชาวยิวจำนวนหนึ่ง จึงมีความเชื่อว่า พระเยซู ่คือ เมสสิอาห์ (Jesus Christ = จีซัส หรือ เยซู ผู้ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า)
     พระเยซูมีเชื้อชาติยิว คริสต์ศาสนาถือว่า วันสมภพของพระองค์ คือ วันที่ 25 ธันวาคม  ค.ศ. 1 (ซึ่งถือเอาวันสมภพเป็นปีที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช ซึ่งตรงกับ  พุทธศักราช 543)  ณ หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา ในดินแดนปาเลสไตน์ (อิสราเอล ในปัจจุบัน) มารดาชื่อมารีอา หรือมาเรีย ชาวคริสต์เชื่อว่านางมาเรีย ตั้งครรภ์ ไม่เหมือนสตรีอื่น ๆ  เป็นการตั้งครรภ์โดยอานุภาพแห่งพระเจ้า มีบิดาเลี้ยงชื่อ โยเซฟ สมัยนั้น กษัตริย์ผู้ครองเมืองชื่อ เฮโรด  เมื่อได้ยินคำพยากรณ์ว่า จะมีผู้มีบุญ มาเกิด จึงคิดกำจัด  ดังนั้น โยเซฟและมาเรียจึงหนีไปอยู่อียิปต์ เป็นการชั่วคราว เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว ก็อพยพกลับถิ่นฐานเดิม  พระเยซูเติบโตขึ้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ  ในเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี เมื่อวัยเยาว์ พระเยซูเป็นผู้สนใจในเรื่องศาสนธรรม และเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่ง  เมื่ออายุ  30  ปี  ได้ท่องเทียว ไปในดินแดนปาเลสไตน์  ณ ริมแม่น้ำจอร์แดน ทรงพบกับจอห์น หรือ โจฮัน หรือ John the Baptism ซึ่งหมายถึง จอห์น ผู้ให้ศีลจุ่ม  หลังที่ได้รับศีลจุ่มแล้ว ได้เสด็จไปประทับในป่าอันอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวเพียงพระองค์เดียว  ทรงบำเพ็ญพรต โดยอดพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วัน จากนั้นพระองค์ก็เริ่มสอนประชาชน ให้หลุดพ้น และประสบสันติสุข  พระองค์มีสาวกที่สำคัญ  12  คน (เนื่องจากชาวยิว มี  12  เผ่าพันธุ์)  สาวกองค์แรก ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา คือ ซีมอน หรือเปโตร หรือ เดฟาส หรือที่คริสต์ศาสนิกชนเรียกว่า นักบุญปีเตอร์ หรือ เซนต์ปีเตอร์ (Saint Peter) นักบุญอีกท่านหนึ่ง ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ ศาสนาคริสต์คือ  นักบุญเปาโล หรือเซนต์ปอล  เป็นนักบุญที่กลับใจ จากการตามจับกุม และลงโทษพวกคริสเตียน  มาเป็นผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งแต่ปีแรก ๆ  ที่พระเยซูสิ้นพระชนม์
พระเยซู ถูกตรึงไม้กางเขน
พระเยซูฟื้นคืนสู่สวรรค์
     การขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาคริสต์ ได้สร้างความหวั่นไหว และส่งผล สะเทือนต่อศาสนายิวเป็นอย่างยิ่ง ปุโรหิตผู้ดูแลวิหารเสียผลประโยชน์ เกรงว่า พระเยซูจะแย่งสาวกของตนไป เพราะคำสอนของศาสนาคริสต์ เน้นเรื่องจริยธรรม ศีลธรรมมากกว่าพิธีกรรม ซึ่งพิธีกรรมของศาสนายิว จะได้แก่ การบูชาพระเจ้า ด้วยเครื่องบูชา  เช่น  เนื้อวัว  แพะ  แกะ  นกพิราบ  นกเขา  เป็นต้น  ในที่สุด ผู้ปกครองชาวโรมัน ก็สั่งประหารชีวิตพระเยซู ด้วยการตรึงกับไม้กางเขน เพราะเกรงว่าชาวยิว ที่คัดค้านพระเยซูจะไม่พอใจ ชาวคริสต์ถือว่าเหตุการณ์ ครั้งนี้เป็นการแสดงความรัก  เพราะพระเจ้าทรงกรุณาแก่สัตว์โลก จึงประทานบุตร มาไถ่บาปของมนุษย์ด้วยการสละชีวิตพระบุตรของพระองค์เอง  พระเยซู สิ้นพระชนม์ ที่เมืองโกลกอต (Golgotha) เมื่อพระชนม์ได้ 33 พรรษา
     หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูแล้ว ศาสนาคริสต์ ได้กลายเป็น ศาสนาประจำชาติ ของอาณาจักรโรมัน ในปลายศตวรรษที่ และปลายศตวรรษที่ จากนั้น ได้แพร่กระจายเป็นศาสนาประจำชาติของหลายประเทศในทวีปยุโรป


สัญลักษณ์
:
ไม้กางเขน
ความหมาย
:
ความเสียสละ ของพระเยซูคริสต์
1. หลักธรรมสำคัญของศาสนาคริสต์
     ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ เมื่อพระเจ้าสร้างโลก และได้สร้างหญิงชายคู่หนึ่ง คือ อาดัม กับอีฟ (หรืออีวา) และเนรมิตสวนเอเดนให้ทั้งคู่อยู่อย่างมีความสุข ต่อมามนุษย์ ได้แอบกินผลไม้ต้องห้าม จึงถูกลงโทษ ด้วยการขับให้มาตกระกำลำบาก บาปของมนุษย์คู่นี้ จึงตกทอดมาถึงมนุษย์ทุกคนด้วย  บาปนี้ เรียกว่า "บาปกำเนิด (Original Sin)แม้มนุษย์จะทำบาป แต่พระเจ้าก็ทรงเมตตา โดยส่งพระเยซู ให้อวตาร ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อไถ่บาปให้กับมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์เข็ญ และเพราะมนุษย์ มีจิตใจที่ไม่เข้มแข็ง จึงต้องพึ่งพระเจ้า และพระบุตรของพระองค์ เพื่อช่วยให้มนุษย์มีจิตใจ เข้มแข็งขึ้น
2.  หลักตรีเอกานุภาพ
     ศาสนาคริสต์สอนว่า มีพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism) คือ พระยะโฮวา หรือ พระยาเวห์ ในพระเจ้าองค์เดียวนี้ แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
พระบิดา  คือ  พระเจ้าสร้างโลก เป็นผู้สร้างทุกสิ่ง ทรงเป็ฯนิรันดร
พระบุตร  คือ  พระเยซู  ซึ่งจุติมาเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยให้มนุษย์ได้รับฟังคำสั่งสอนของพระเจ้า อย่างใกล้ชิด
พระจิต  คือ  พระเจ้าที่ปรากฏเป็นดวงวิญญาณ ของมนุษย์ เพื่อเกื้อหนุนให้มนุษย์ ประกอบกรรมดี
3.  ความรัก
     ความรักถือเป็นบทบัญญัติที่สำคัญของศาสนาคริสต์ ดังพระเยซูตรัสว่า "จงรักพระเจ้าอย่างสุดใจ สุดความคิด และสุดกำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" ความรักนี้ ไม่ใช่ความรักของหนุ่มสาว แต่เป็นความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ศาสนาคริสต์ ถือว่า ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า จึงควรรักกันเหมือนพี่น้อง
4.  บัญญัติ 10 ประการ
     บัญญัติ  10 ประการ เป็นหลักศีลธรรมของศาสนา ยูดาย ซึ่งโมเสสเป็นผู้ได้รับจากพระเจ้า เพื่อประกาศ ให้ชาวยิว นำไปยึดถือปฏิบัติ ซึ่งศาสนาคริสต์ก็ยอมรับ บัญญัติ  10  ประการ  มีเนื้อหาดังนี้
   1.
จงนมัสการพระเจ้า แต่เพียงองค์เดียว
6..
อย่าผิดประเวณี
   2
อย่าออกนามพระเจ้าพร่ำเพรื่อ
7.
อย่างลักทรัพย์
   3.
จงนับถือวันพระเจ้า เป็นศักดิ์สิทธิ์
8.
อย่านินทาว่าร้ายผูอื่น
   4.
จงนับถือบิดามารดา
9.
อย่าคิดมิชอบ
   5.
อย่าฆ่าคน
10.
อย่ามีความโลภ
6.  พิธีกรรมที่สำคัญในคริสต์ศาสนา
     พิธีกรรมที่สำคัญในคริสต์ศาสนา เรียกว่า พิธีศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ ได้แก่  ศีลจุ่ม หร้อศีลล้างบาป  ศีลกำลัง  ศีลมหาสนิท  ศีลสมรส  ศีลสารภาพบาป  ศีลเจิมครั้งสุดท้าย หรือศีลเจิมคนไข้ ศีลเข้าบวชหรือศีลอนุกรม   ในพิธีกรรมทั้งหมดนี้  นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออร์ธอด็อกซ์ จะปฏิบัติทั้ง 7 พิธีกรรม ส่วนนิกายโปรเตสแตนท์ ถือว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ มี 2 ศีล คือ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท
     ศีลในคริสต์ศาสนา มีความหมายต่างกับศีลในพุทธศาสนา ศีลในพุทธศาสนา หมายถึง  ข้อฝึกหัด (สิกขา = Training) คือ ฝึกหัด และตั้งใจ (เจตนา, สมาทาน) ว่า จะ (ฝึกหัด) งดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การลักขโมย การพูดโกหก หลอกลวง การประพฤติในกาม การดื่มของมึนเมา เป็นต้น ไม่ใช่ข้อห้าม แต่ศีลในคริสต์ศาสนา เชื่อกันว่า เป็นพิธีกรรมพิเศษ ที่พระเยซูทรงกำหนดขึ้น เพื่อยืนยันถึงความช่วยเหลือของพระองค์ สำหรับผู้ที่ทำพิธีกรรมนั้น ๆ ตามโอกาสที่กำหนดไว้
7.  คัมภีร์ของศาสนาคริสต์
     คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ เรียกว่า "คัมภีร์ไบเบิล (Bible)" ถือเป็น คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นพระวจนะของพระเจ้า แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ พระคัมภีร์เก่า หรือพันธสัญญาเดิม และพระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่
พันธสัญญาเดิม (Old Teatament) ภาคนี้ เป็นคัมภีร์ ของศาสนายิว จารึกเป็นภาษาฮิบรู เล่าเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก จนถึงสมัยก่อนพระเยซูประสูติ เช่น ความเป็นมาของชนชาติยิว บัญญัติ 10 ประการ ศาสดาพยากรณ์ ฯลฯ
พันธสัญญาใหม่ (New Testament) จารึกเป็นภาษากรีก เล่าเรื่องตั้งแต่พระเยซูประสูติ การเผยแพร่ศาสนา รวมถึงเรื่องราวของอัครสาวก และสาวกด้วย ภาคนี้ชาวยิวไม่ยอมรับว่า เป็นคัมภีร์ ในศาสนาตน เพราะไม่ยอมรับพระเยซูว่า เป็นบัตรของพระเจ้า

พระแม่มาเรีย ทรงอุ้มศพพระเย
ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ในการทำงาน

ทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     (Performance) และมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง

ตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังต่อไปนี้

ระดับ
ลักษณะพฤติกรรม
1 (ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดได้
•  หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ปฏิเสธและไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยมักจะอ้างถึงผู้อื่นอยู่เสมอ
•  ละเมิดระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
2 (ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนด)
•  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทบ้างเป็นบางครั้ง
•  ตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัทเท่าที่จำเป็น
•  ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทเป็นบางครั้ง
3 (ตามมาตรฐาน ที่กำหนด)
•  รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย •  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทอยู่เสมอ •  ไม่นำทรัพย์สินของบริษัทมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว •  ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
4 (สูง/เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด)
•  ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้นได้
•  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
•  ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนเอง
5 (สูง/เกินกว่า มาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นพนักงานในองค์กรทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงานและในวิชาชีพของตน
•  นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อให้การทำงานประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

         ดังนั้น ความซื่อสัตย์จึงเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถด้านหนึ่งที่คุณเองไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย คุณควรเริ่มสำรวจตัวเองว่าคุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงานหรือไม่ และอยู่ในพฤติกรรมระดับไหน ทั้งนี้ขอให้คุณเปิดใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ซึ่งคุณเองอาจลืมหรือคิดไม่ถึงว่าพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของตัวคุณเองนั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสายตาของผู้อื่นและบุคคลรอบข้าง และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงผลประโยชน์ที่หน่วยงานและองค์การจะได้รับ